วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

วันปิยะมหาราช 23 ตุลาคมของทุกปี

 วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี ภาษาอังกฤษคือ Chulalongkorn Day เป็นวันสำคัญ และวันหยุดราชการวันหนึ่งของไทย โดยวันนี้เป็นวันที่คนไทยรู้จักกันดีคือ “วันเลิกทาส” ตั้งแต่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 และห้ามมีการซื้อขายทาสอีกในประเทศไทย



ประวัติของวันปิยมหาราช

วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน และสิ่งที่โดดเด่นคือ การประกาศเลิกทาส เป็นการหยุดวงจรการเป็นทาส เพราะเมื่อสมัยก่อนหากพ่อแม่เป็นทาส ลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นทาสต่อไปเรื่อยๆ ทางราชการจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีเป็นหนึ่งในวันระลึกถึงความสำคัญของเหตุการณ์ในชาติ โดยเรียกว่า “วันปิยมหาราช” พร้อมทั้งกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ

ความสำคัญ

วันปิยมหาราช เป็นวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในทุกๆ ปีหน่วยงานราชการจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ ที่พระบรมรูปทรงม้าอย่างพร้อมเพรียง เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเลิกไพร่ เลิกทาส

แต่ดั้งเดิมนั้นประเทศไทยของเรา มีพลเมืองที่เป็นชนชั้นทาสมากกว่า 30% ของพลเมืองทั้งประเทศ เนื่องจากการได้รับวรรณะทาสนั้นจะถูกสืบจากสายเลือด หากพ่อแม่เป็นทาส ลูกก็จะเป็นทาสด้วย โดยทาสนั้นแบ่งออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ

  1. ทาสสินไถ่: เกิดจากการขายตัวเป็นทาส ทาสประเภทนี้มักยากจน
  2. ทาสในเรือนเบี้ย: เกิดจากการที่แม่เป็นทาส พ่อเป็นนายทาส
  3. ทาสมรดก: เกิดจากการส่งต่อมรดกของนายทาสที่เสียชีวิตลง ส่งให้นายทาสคนต่อไป
  4. ทาสท่านให้: ทานที่ได้รับมาจากผู้อื่น
  5. ทาสทัณฑ์โทษ: กรณีที่บุคคลนั้นถูกลงโทษ แต่ไม่สามารถหาเงินมาชดใช้ได้หมด ถ้าหากมีนายทาสมาช่วยเหลือ ถือว่าบุคคลนั้นกลายเป็นทาสของนายทาสคนนั้น
  6. ทาสที่ช่วยไว้จากความอดอยาก: คือการขายตนเองให้นายทาส เพื่อหลีกหนีจากความอดอยากที่เผชิญอยู่
  7. ทาสเชลย: เกิดจากการที่ประเทศหรือพลเมืองนั้นๆ แพ้สงคราม จึงถูกผู้ชนะสงครามนำคนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้

การจะหลุดออกจากการเป็นทาสนั้นมี 6 วิธี

  1. การหาเงินมาไถ่ถอนตนเอง
  2. การบวชที่ต้องได้รับการยินยอมจากนายทาส
  3. การหลบหนีจากการเป็นเชลยในสงคราม
  4. การแต่งงานกับชนชั้นสูงกว่า
  5. การแจ้งความนายจ้างว่าเป็นกบฏ และตรวจสอบว่าเป็นจริง
  6. การประกาศจากรัชกาลที่ 5 ให้มีการเลิกทาส

สมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่ 5)

สมเด็จพระปิยมหาราช หรือพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสมเด็จพระเทพศิริน-ทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อพระชนม์ 9 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก 4 ปี ได้เลื่อนเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ” บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 มีประราชกรณียกิจสำคัญมากมายคือ

การเลิกทาส ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124” (พ.ศ.2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด

การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่แต่เดิมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายเวลานั้นเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่ง ๆ ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพอเหมาะสม

การศึกษา ทรงโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง แล้วมีหมายประกาศชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการให้ส่งบุตรหลานเข้า เรียน โรงเรียนภาษาไทยนี้

การศาล ทรงตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลต่าง ๆ ให้มาขึ้นอยู่ในกระทรวงเดียวกัน

การคมนาคม ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนบำรุงเมือง ถนนที่ทรงสร้างใหม่ คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น

การสุขาภิบาล ได้ทรงตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดูแลจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่ง เช่น ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลบางรัก โรงพยาบาลโรคจิต และโรงเลี้ยงเด็ก 

การสงครามและการเสียดินแดน ท่านทรวงควบคุมการเสียดินแดนของไทย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็พยายามทำให้ได้ประโยชน์จากการเสียดินแดนให้มากที่สุด

การเสด็จประพาส ระหว่างที่ยังมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก็ได้เสด็จประพาสต่างประเทศหลายที่ เพื่อดูแบบอย่างการปกครอง และนำมาแก้ไขดัดแปลงใช้ในประเทศของเราบ้าง

การศาสนา ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกโดยแท้จริงในด้านพระพุทธศาสนา

การวรรณคดี ทรงเป็นนักประพันธ์ ซึ่งมีความชำนาญทั้งทางร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น ไกลบ้าน ลิลิตนิทราชาคริต เงาะป่า พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นต้น

อ่าน พระราชกรณียกิจที่สำคัญเพิ่มเติม

อ่าน ประวัติสมเด็จพระปิยมหาราชแบบละเอียด


ข้อมูลจาก

https://www.sanook.com/campus/942307/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำมารู้จักอำเภอของเราครับ

ประวัติอำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา

  ประวัติความเป็นมา ของ อำเภอปากช่อง อำเภอใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา   มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย  ที่พัก  อาหารอร่อยๆ  ติดต่อสอบถาม ในเวลาร...

บทความมาใหม่

บทความท้ายเล่ม ทีมงานบล๊อกไทยแลน์

บทความที่ได้รับความนิยม