วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ประวัติอำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา

 ประวัติความเป็นมา ของ อำเภอปากช่อง อำเภอใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา   มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย  ที่พัก  อาหารอร่อยๆ  ติดต่อสอบถาม ในเวลาราชการ     โทรศัพท์044 311 916 อำเภอปากช่อง





  • เมื่อ พุทธศักราช 2430 ชาวบ้านปากช่องขึ้นกับ ต.ขนงพระ อ.จันทึก ต่อมาปีพ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์ให้ก่อสร้างทางรถไฟสายแรก กรุงเทพมหานคร -นครราชสีมา สร้างทางผ่านกลางหมู่บ้าน จำเป็นต้องระเบิดภูเขาเพื่อวางทางรถไฟ จึงทำให้หมู่บ้านถูกระเบิดหินทำทางรถไฟเป็นช่อง จึงเรียกว่า "บ้านปากช่อง"
  • เมื่อ พุทธศักราช 2482 ทางการสั่งยุบ ต.ขนงพระ อ.จันทึก ให้บ้านปากช่องไปขึ้นกับตำบลจันทึก อำเภอสีคิ้ว



  • เมื่อ พุทธศักราช 2492 บ้านปากช่องได้รับการยกฐานะเป็นตำบลปากช่อง
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลปากช่อง [1]
  • วันที่ 1 มกราคม 2500 ตั้งกิ่งอำเภอปากช่อง โดยแยกตำบลปากช่อง ตำบลจันทึก ตำบลกลางดง และตำบลหมูสี ออกจากอำเภอสีคิ้ว [2]
  • เมื่อ พุทธศักราช 2500 ทหารสหรัฐอเมริกาเข้ามาฝึกซ้อมรบในประเทศไทย ที่จังหวัดนครราชสีมา ได้ก่อสร้างถนนเฟรนชิป หรือถนน "มิตรภาพ" จากสระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมา ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับมอบ
  • วันที่ 23 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะเป็นอำเภอปากช่อง [3]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลกลางดง [4]
  • วันที่ 15 กันยายน 2515 ตั้งตำบลขนงพระ โดยแยกออกจากตำบลปากช่อง [5]
  • วันที่ 15 สิงหาคม 2516 ตั้งตำบลหนองสาหร่าย โดยแยกออกจากตำบลจันทึก [6]
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2520 ตั้งตำบลวังกะทะ โดยแยกออกจากตำบลหนองสาหร่าย [7]
  • วันที่ 25 มิถุนายน 2524 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากช่อง เป็นเทศบาลตำบลปากช่อง [8]
  • วันที่ 1 พฤษภาคม 2525 ตั้งตำบลโป่งตาลอง โดยแยกออกจากตำบลหมูสี และ ตั้งตำบลคลองม่วง โดยแยกออกจากตำบลวังกะทะ [9]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2527 ตั้งตำบลหนองน้ำแดง โดยแยกออกจากตำบลขนงพระ และ ตั้งตำบลวังไทร โดยแยกออกจากตำบลหนองสาหร่าย [10]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2529 ตั้งตำบลพญาเย็น โดยแยกออกมาจากตำบลกลางดง [11]
  • เมื่อ พุทธศักราช 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เสด็จประพาสนครราชสีมาโดยทางรถไฟ ขณะเสด็จผ่านสถานีรถไฟปากช่อง เสด็จพระราชดำเนินตลาดสุขาภิบาลปากช่อง และกองวัคซีน
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกลางดง เป็นเทศบาลตำบลกลางดง
  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลปากช่อง เป็นเทศบาลเมืองปากช่อง [12]

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอปากช่องตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอปากช่องแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 219 หมู่บ้าน ได้แก่

1.ปากช่อง(Pak Chong)7.ขนงพระ(Khanong Phra)
2.กลางดง(Klang Dong)8.โป่งตาลอง(Pong Talong)
3.จันทึก(Chanthuek)9.คลองม่วง(Khlong Muang)
4.วังกะทะ(Wang Katha)10.หนองน้ำแดง(Nong Nam Daeng)
5.หมูสี(Mu Si)11.วังไทร(Wang Sai)
6.หนองสาหร่าย(Nong Sarai)12.พญาเย็น(Phaya Yen)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอปากช่องประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่


การคมนาคม[แก้]

ทางรถยนต์ มีถนนสายหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และถนนภายในเขตเทศบาลจำนวน 254 สาย มีลำตะคองเป็นลำน้ำสายหลักที่ใช้ในการบริโภค ขนส่ง และประกอบ
ทางรถไฟ มีขบวนรถขึ้น-ล่อง หยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟปากช่องให้บริการทุกขบวน
ลักษณะการโดยสารรถไฟ
มีรถท้องถิ่นเที่ยวขึ้นช่วงเช้า-เที่ยวกลับช่วงเย็น
มีรถเร็วเที่ยวขึ้นช่วงสาย,หัวค่ำ,ช่วงดึก,เช้ามืด-เที่ยวกลับช่วงบ่าย,ช่วงเย็น,ช่วงดึก,เช้ามืด
มีรถด่วน/ด่วนดีเซลรางเที่ยวขึ้นช่วงบ่าย,ช่วงดึก,เช้ามืด-เที่ยวกลับเช้ามืด,เช้า,ช่วงดึก
มีรถด่วนพิเศษเที่ยวขึ้นช่วงเช้า-เที่ยวกลับช่วงหัวค่ำ
มีรถธรรมดาเที่ยวขึ้นช่วงบ่าย-เที่ยวกลับช่วงเช้า

การศึกษา[แก้]

ด้านการศึกษา[แก้]

  • มีโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 87 โรงเรียน
  • สังกัดเอกชน จำนวน 17 โรงเรียน

โดยมีโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ คือ โรงเรียนปากช่อง เป็นโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย และโรงเรียนดีใกล้บ้าน (โรงเรียนในโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน) คือ โรงเรียนบ้านปากช่อง (คุรุสามัคคี 1) ระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และโรงเรียนพี่เลี้ยงโรงเรียนในฝัน คือ โรงเรียนมารดาดรุณีรักษ์ สอนระดับอนุบาล 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 และยังเป็นโรงเรียนเอกชนการกุศล

ระบบการศึกษานอกโรงเรียน[แก้]

  • กลุ่มสนใจ 13 กลุ่ม
  • วิชาชีพระยะสั้น 11 กลุ่ม
  • ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 37 แห่ง
  • ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง

การศึกษาอื่นๆ[แก้]

  • โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา รวม 1 แห่ง
  • หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล 12 แห่ง

ด้านศาสนา[แก้]

  • ประชากรทั่วไปนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 98 ศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 2
  • วัดและที่พักสงฆ์ จำนวน 185 แห่ง
  • มัสยิด จำนวน 2 แห่ง
  • ศาลเจ้า จำนวน 4 แห่ง

ด้านสาธารณสุข[แก้]

มีการให้บริการด้านการสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้

  • โรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 259 เตียง จำนวน 1 แห่ง
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
  • สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 14 แห่ง
  • ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง จำนวน 1 แห่ง
  • สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 3 แห่ง
  • คลินิกเอกชน จำนวน 46 แห่ง
  • ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 34 แห่ง
  • อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 2,300 คน

การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัย[แก้]

มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ/ตำบล จำนวน 4 แห่ง ดังนี้

  • สถานีตำรวจภูธรอำเภอปากช่อง
  • สถานีตำรวจภูธรตำบลกลางดง
  • สถานีตำรวจภูธรตำบลหมูสี
  • สถานีตำรวจภูธรตำบลหนองสาหร่าย
  • สถานีตำรวจทางหลวง สทล.6 กก.1

การท่องเที่ยว[แก้]

อำเภอปากช่องมีเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งทางขึ้นอุทยานด้านอำเภอปากช่องเป็นถนนที่สามารถขึ้นไปถึงบริเวณอุทยานได้สะดวก เนื่องจากเขตอำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับผืนป่าดงพญาเย็นประกอบกับเป็นที่ราบสูงสลับภูเขา ทำให้สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปมีความเย็นเหมาะแก่การทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่ จึงมีฟาร์มขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมทั้งฟาร์มโคนมโชคชัยซึ่งปัจจุบันพัฒนาให้มีบริเวณที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวและจัดเป็นแพ็กเกจทัวร์เพื่อเที่ยวชมภายในฟาร์ม นอกจากนี้ยังมีฟาร์มอื่น ๆ รีสอร์ต และโรงแรมอีกมาก ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มาก โดยเฉพาะช่วงวันหยุดซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานครมาพักผ่อน

ปากช่องมีระดับโอโซนเป็นอันดับ 7 ของโลก[ต้องการอ้างอิง]ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ สดชื่น ดีต่อสุขภาพ บริเวณเขตติดต่อกับอำเภอสีคิ้วเป็นที่ตั้งของเขื่อนลำตะคองซึ่งมีจุดชมวิวที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนโดยตัวเขื่อนอยู่ห่างจากตัวอำเภอปากช่องประมาณ 15 กิโลเมตร ส่วนตำบลกลางดงเป็นแหล่งแวะพักเพื่อซื้อของฝากประเภทผลไม้ต่าง ๆ มากมายสดจากไร่และข้าวโพดหวานอันเลื่องชื่อของไร่สุวรรณ

อาชีพ[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม โดยมีการเพาะปลูกพืชหลายชนิด โดยเฉพาะที่เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของอำเภอและมีการจัดงานประจำปีขึ้นทุกปี คือ น้อยหน่า ส่วนพืชผลอื่น ๆ คือ ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย มะม่วง องุ่น และลิ้นจี่ พืชผักอื่น ๆ ที่เพาะปลูกมาก คือ มะละกอ พริก ผักชี แตงกวา และต้นหอม นอกจากนี้ การทำปศุสัตว์ก็เป็นอีกอาชีพที่ได้รับความนิยม คือ การเลี้ยงไก่ สุกร และโคนม โดยมีโรงงานฟักไข่ขนาดใหญ่อยู่ในสำหรับด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมหลัก โดยทั่วไปจะอยู่ในเขตตัวเมืองซึ่งเป็นเขตการค้าที่ไม่กระจุกตัว แต่จะมีที่ตั้งตามแนวถนนทั้งสองฝั่งของถนนมิตรภาพ มีตลาดในตัวเมืองเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าหลายแห่ง แต่มีเขตติดต่อกันจนดูเหมือนเป็นแห่งเดียวกัน

ทำเนียบรายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอปากช่อง


ลำดับที่ชื่อ-สกุลระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1นายบรรยง สู่พานิช18 ก.ย. 2500 - 30 พ.ย. 2506
2นายอนันต์ อนันตกูล6 ธ.ค. 2506 - 22 พ.ย. 2512
3นายจรินทร์ กาญจโนมัย22 พ.ย. 2512 - 6 พ.ค. 2514
4นายวิโรจน์ อำมรัตน์27 พ.ค. 2514 - 9 พ.ค. 2516
5นายจรวย ยิ่งสวัสดิ์17 พ.ค. 2516 - 18 พ.ค. 2518
6นายไพฑูรย์ สุนทรวิภาต1 ธ.ค. 2518 - 10 ต.ค. 2520
7ร.ต.ชวลิต วิบูลย์ประพันธ์22 ต.ค. 2520 - 1 มิ.ย. 2522
8นายวิเชียร เปาอินทร์3 มิ.ย. 2522 - 22 ส.ค. 2523
9ร.ต.เสนาะ นิพภยะ1 ก.ย. 2523 - 8 ต.ค. 2527
10นายบุญธรรม ใจรักพันธ์8 ต.ค. 2527 - 5 ต.ค. 2529
11นายไพบูลย์ จินดารัตน์6 ต.ค. 2529 - 22 ม.ค. 2530
12นายสันต์ ภมรบุตร16 ต.ค. 2530 - 22 ม.ค. 2532
13นายพงศ์โพยม วาศภูติ23 ม.ค. 2532 - 15 ต.ค. 2532
14นายปัญญารัตน์ ปานทอง16 ต.ค. 2532 - 1 ก.ค. 2533
15นายอาวุธ วิวัฒน์วานิช2 ก.ค. 2533 - 24 มี.ค. 2534
16นายวิสุทธิ์ ตุลสุข25 มี.ค. 2534 - 20 ต.ค. 2534
17นายวิทยา ปิณฑะแพทย์11 พ.ย. 2534 - 5 ต.ค. 2535
18นายวีรวัฒน์ วรรณกูล12 ต.ค. 2535 - 16 ม.ค. 2537
19นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์17 ม.ค. 2537 - 13 ต.ค. 2539
20นายฐานิศร์ น้อยเพ็ง14 ต.ค. 2539 - 21 พ.ย. 2542
21นายพิบูลย์ชัย พันธุลี22 พ.ย. 2542 - 4 ก.พ. 2544
22นายไพบูลย์ ปัญจะ5 ก.พ. 2544 - 11 ต.ค. 2547
23นายสุพล ลีมางกูร1 พ.ย. 2547 - 25 ธ.ค. 2548
24นายประหยัด เจริญศรี26 ธ.ค. 2548 - 23 ต.ค. 2550
25นายคณีธิป บุณยเกตุ24 ต.ค. 2550 -23 ม.ค.2554
26นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์2 พ.ค. 2554 - 14 ธ.ค. 2557
27นายปัญญา วงศ์ศรีแก้ว26 ม.ค. 2558 - 13 ต.ค. 2560
28นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ16 ต.ค. 2560 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ   รายชื่อนายอำเภอ อาจจะไม่เป็นปัจจุบัน เพราะมีการโยกย้ายตามวาระ


ข้อมูลจากวิกิเพียเดียไทย   


1 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำมารู้จักอำเภอของเราครับ

ประวัติอำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา

  ประวัติความเป็นมา ของ อำเภอปากช่อง อำเภอใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา   มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย  ที่พัก  อาหารอร่อยๆ  ติดต่อสอบถาม ในเวลาร...

บทความมาใหม่

บทความท้ายเล่ม ทีมงานบล๊อกไทยแลน์

บทความที่ได้รับความนิยม