วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์



1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
                หมายถึง ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน
2. ประเภทของระบบเครือข่าย
                ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามขนาดของเครือข่ายเป็น 3 ประเภทดังนี้
                2.1 ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น 
(Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
                2.2 ระบบเครือข่ายระดับเมือง 
(Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลางที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียงกัน เช่น ระดับเคเบิ้ลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไป การฝากถอนเงินผ่านระบบเอทีเอ็ม เป็นต้น
                2.3 ระบบเครือข่ายระดับประเทศ 
(Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ใช้ติดต่อบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ หรือดาวเทียม และการใช้งานอินเทอร์เน็ตก็จัดว่าเป็นการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายระดับประเทศด้วย
3. โครงสร้างเครือข่าย

                 คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมเทคโนโลยีการออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย” (Network Topology) เมื่อพิจารณาการเชื่อมโยงถึงกันของอุปกรณ์สำนักงานที่ใช้ต่างๆ หากต้องการเชื่อมต่อถึงกันโดยตรงจะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก
                3.1 เครือข่ายแบบดาว (Star Topology)

4. อุปกรณ์เครือข่าย
                1.
)  ฮับ (Hub)
                                
เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่งหลายๆ สถานีเข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับ-ส่งแบบอินเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่ แอดเดรส” (Address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเกจ
                2.)  อุปกรณ์สวิตซ์ (Switch)

                                สวิตซ์เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับ-ส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตซ์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็กเกจมาตรวจสอบก่อน แล้วมาดูว่าแอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตซ์จะนำแพ็กเกจหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานีเป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตซ์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล เพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
                3.
 อุปกรณ์จัดเส้นทาง (Router)
                                
ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆ เครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้น จึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทำหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสมให้ เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่ทำให้การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพ และได้สารสนเทศที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ มีดังนี้

  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานในระบบสารสนเทศ เช่น อุปกรณ์สำนักงาน และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยฮาร์ดแวร์ที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ตามหน่วยการทำงาน ดังนี้

                            หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่ในหน่วยรับข้อมูล เรียกว่าอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) ได้แก่ แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) กล้องดิจิทัล (Digital Camera) สแกนเนอร์ (Scanner) และไมโครโฟน (Microphone)

                             หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์หรือชิป (Chip) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ (Transistor) และอุปกรณ์อื่นๆ รวมอยู่ด้วยกันจำนวนมากภายในคอมพิวเตอร์
                            หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วมากที่สุด มีหลายแบบทั้งแบบที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์และแบบพกพาหน่วยความจำแบ่งตามลักษณะการทำงานเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เครื่องพิมพ์ และจอภาพ

                2. ซอฟต์แวร์ (Software) หรือ โปรแกรม คือชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและประมวลผลข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ ปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทำงานระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร มี 2 ประเภท ดังนี้

                            1) ซอฟต์แวร์ระบบ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การรับข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล และการแสดงผลข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย

                                   ระบบปฏิบัติการและตัวแปรภาษา เช่น Microsoft Windows XP, Microsoft Windows Vista,Microsoft Windows 7, Macintosh, Linux, Open Solaris, Chrome OS 

                            2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการทำงานให้แก่ผู้ใช้งานระดับบุคคลอย่างกว้างขวาง และส่งเสริมการทำงานกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ สำหรับในระดับองค์กร มักจะมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับลักษณะงานของแต่ละองค์กร โดยนักเขียนโปรแกรมในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรนั้นๆ

                   3. บุคลากร คือบุคคลที่ใช้งาน จัดการ และควบคุมระบบสารสนเทศ ซึ่งหากบุคลากรมีความรู้ความสามารถในการใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ส่งผลให้ระบบสารสนเทศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลงานที่มีคุณภาพ  บุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดการระบบสารสนเทศ มีดังนี้

                             1) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศที่ต้องการ โดยศึกษาปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในระบบสารสนเทศ ตลอดจนหาแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนักวิเคราะห์ระบบแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

                                         1.1 นักวิเคราะห์ระบบที่เป็นบุคลากรภายในองค์กร

                                         1.2 นักวิเคราะห์ระบบที่เป็นที่ปรึกษาจากภายนอก 

                            2) โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่รับระบบสารสนเทศจากนักวิเคราะห์ระบบที่ได้จัดทำไว้มาเขียนหรือสร้างให้เป็นโปรแกรม เพื่อสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำหน้าที่ได้ผลลัพธ์ตามที่ออกแบบมา

                             3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง (Operator) คือ ฝ่ายที่ทำหน้าที่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ตรงตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ

                            4) ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้งานระบบสารสนเทศโดยตรง ผู้ใช้ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้

                       4. ข้อมูล คือ องค์ประกอบที่ชี้วัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ ข้อมูลที่ดีซึ่งเหมาะแก่การนำไปใช้งานต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย และมีความน่าเชื่อถือ โดยผ่านกระบวนการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้ว นอกจากนี้ระบบต้องมีการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวกต่อการค้นหา

                        5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน คือ ระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน ลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงานหรือกระบวนการในการจัดการข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ได้แก่

                                                - การรวบรวมข้อมูล

                                                - ตรวจสอบข้อมูล

                                                - ประมวลผลข้อมูล

                                                - จัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำมารู้จักอำเภอของเราครับ

ประวัติอำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา

  ประวัติความเป็นมา ของ อำเภอปากช่อง อำเภอใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา   มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย  ที่พัก  อาหารอร่อยๆ  ติดต่อสอบถาม ในเวลาร...

บทความมาใหม่

บทความท้ายเล่ม ทีมงานบล๊อกไทยแลน์

บทความที่ได้รับความนิยม